วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 4 การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย

บทที่ 4  การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย


การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย
การแบ่งส่วนการตลาด (Market Segmentation) หมายถึง กระบวนการ การแบ่งตลาดรวมหนึ่งๆ เป็นตลาดย่อยๆ ซึ่งมีสมาชิก ที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยเมื่อแบ่งเป็นส่วนย่อยแล้วจะเห็นความแตกต่างและความหมายในแต่ละส่วนย่อย มีปัจจัย ดังนี้
                        ลักษณะของการแบ่งส่วนตลาด                        
                        -  ลักษณะการแบ่งส่วนการตลาดที่ดี
                        -  ประโยชน์ของการแบ่งส่วนตลาด                      
                        -  เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
                        -  เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรม
ประโยชน์ของการแบ่งส่วนตลาด
   1. ทำให้ธุรกิจมองเห็นโอกาส (Opportunity) และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
            2. ช่วยนักการตลาดในการวิเคราะห์ผู้บริโภคและทิศทางของสินค้า/บริการ
            3. ช่วยในการจัดสรรทรัพยากรทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเลือกตลาดเป้าหมาย (Target Market Selection) คือ การเลือกส่วนตลาดหนึ่งส่วน หรือ มากกว่านั้น เป็นเป้าหมาย สำหรับการใช้ส่วนประผสมทางการตลาดและการใช้ทรัพยากรของธุรกิจ


ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินความน่าสนใจ (Attractiveness) ของแต่ละส่วนตลาด คือ       
               -  ขนาดของส่วนตลาด            - อัตราการเจริญเติบโต
               - อัตราความเสี่ยง                     -  จำนวนคู่แข่งขัน
              -  ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ        -  ทิศทางของส่วนตลาดนั้น

กลยุทธ์ในการกำหนดตลาดเป้าหมาย (Strategies for Selecting Target Markets) แบ่งได้ 3 ส่วน
1) กลยุทธ์ตลาดรวม    ข้อดี  เกิดการประหยัดด้านต้นทุนการผลิตและด้านการตลาด
                                    จุดอ่อน  ยากในการหาสินค้าที่เป็นที่พอใจของลูกค้าทุกรายในตลาด
2) กลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว ข้อดี  - เข้าใจในกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี
                                   - ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีทำให้เกิด Competitive advantage
                                                     ข้อเสีย - มีความเสี่ยงสูง
3) กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน    ข้อดี    - กระจายความเสี่ยง
                                 - มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำตลาด (Market leader) หรือ มี Market share เพิ่มขึ้น 
                                             ข้อเสีย – ค่าใช้จ่ายสูง

POSITIONING การกำหนดผลิตภัณฑ์(เทียบกับคู่แข่ง) การวางตำแหน่งที่ดีต้องคำนึงถึง
-    ตำแหน่งในปัจจุบันของเราคืออะไร?                   
-   องค์กรต้องการไปอยู่ในตำแหน่งใด?
-    ใครเป็นคู่แข่งในตำแหน่งใหม่?                           
-   องค์กรพร้อมไหมที่จะสู่ตำแหน่งใหม่?
-    องค์กรสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่?         
-  สามารถออกแบบส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสมได้หรือไม่?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น